เครื่องมือสำหรับตัดและผ่า
เครื่องมือสำหรับตัดและผ่า มีดังนี้
1. มีด มีหลายชนิด มีดที่ใช้ในงานช่างพื้นฐานทั่วๆไป มักมักจะเป็นมีดที่ใช้งานได้อเนกประสงค์ ส่วนใหญ่ใช้ในการผ่า สับไม้
มีด
การใช้มีด1.จับตรงด้ามมีดโดยใช้มือที่ถนัด
2.ใช้มืออีกข้างจับวัสดุที่จะผ่า
การบำรุงรักษา
1.ควรลับมีดให้คมอยู่เสมอ
2.หลังการใช้งานควรใช้น้ำมันเพื่อป้องการสนิม
3.เก็บในฝักหรือเสียบไว้เป็นที่ให้เรียบร้อย
2) เลื่อย
มีชื่อเรียกตามลักษณะการใช้งานและลักษณะรูปร่าง ในการช่างพื้นฐานจะกล่าวถึงเลื่อยที่ใช้กันทั่วๆไป ประกอบไปด้วย 2 ส่วน คือ ส่วนที่เป็นใบเลื่อยซึ่งทำด้วยเหล็กบาง มีฟันคล้ายกับสิ่วเล็กๆเรียงกันตลอดความยาว และส่วนที่เป็นด้ามมือ ทำจากไม้หรือพลาสติก เลื่อยที่นิยมใช้กันแพร่หลาย มีดังนี้
2.1 เลื่อยลันดา แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
2.1.1. เลื่อยลันดาชนิดตัด ใช้ตัดขวางเสี้ยนไม้ ปลายของฟันจะแหลม เวลาตัดต้องทแยงใบเลื่อยทำมุมกับชิ้นงานประมาณ 15 – 30 องศา
2.1.2. เลื่อยลันดาชนิดโกรก ใช้สำหรับเลื่อยหรือผ่าตามเสี้ยนไม้
เลื่อยลันดา
การใช้เลื่อยลันดาชนิดตัด
1.ขีดเส้นแนวที่จะตัดโดยใช้ฉาก
2.ยึดไม้ติดกับแม่แรงหรือโต๊ะรองเลื่อย
3.วางฟันเลื่อยลงชนิดกับเส้นบนส่วนที่จะตัดทิ้ง แล้วชักเลื่อยขึ้นก่อน โดยวางนิ้วหัวแม่มือนำแนวการเลื่อย
4.เลื้อยสั่นๆ หลายๆ ครั้ง จนแน่ใจว่าใบเลื่อยจมลงไปในเนื้อไม่พอสมควร จึงเอาฉากเหล็กมาทดสอบ
5.เลื่อยยาวๆอย่างติดต่อกันอย่างสม่ำเสมอ โดยเอียงฟันเลื่อยทำมุมประมาณ 15-30 องศากับไม้หรือชิ้นงาน
6.ก่อนไม้จะขาดต้องเลื่อยสั่นๆ ใช้มือซ้ายจับส่วนที่ตัดทิ้งเพื่อกันมิให้เกิดการชีกของไม้ขึ้น
การใช้เลื่อยลันดาชนิดโกรก
1.กะขนาดที่จะโกรกและขีดเส้นไว้เป็นแนวยาวตลอกระยะที่ต้องการ
2.ยืดไม้บนแม่แรงหรือโต๊ะรองเลื่อย
3.เริ่มต้นโกรกโดยใช้วิธีการเดียวกันกับเลื่อยตัดไม้โดยใช้เลื่อยลัดดาชนิดตัด แต่ต่างกันที่ให้เอียงใบเลื่อนทำมุมประมาณ 60 องศากับไม้
4.เลื่อยต่อไปโดยชักสั่นๆ ใช้มือจับส่วนที่ตัดทิ้งเพื่อป้องกันมิให้เกิดการชีกขาดของไม้
2.2.เลื่อยฉลุ เป็นเลื่อยขนาดเล็ก รูปร่างของโครงเลื่อยเป็นตัวอยู่ ทำด้วยโลหะ ใบเลื่อยเล็กใช้ในงานฉลุลวดลายหรือเลื่อยสิ่งของเล็กๆ
เลื่อยฉลุ
การใช้เลื่อยฉลุ1.ใส่ใบเลื่อยเข้ากับโครงเลื่อย โดยให้ฟันเลื่อยหันออกด้านหน้าและคมของใบเลื่อยพุ่งลงข้างล่าง
2.ปรับสกรูให้ใบเลื่อยตึงพอสมควร
3.ขณะเลื่อยชิ้นงานควรบังคับโครงเลื่อยใบเลื่อยให้ตรงและเคลื่อนไหวไปอย่างช้าๆ
การบำรุงรักษา
1.ระวังอย่าให้สกรูจับใบเลื่อยหลุดหาย
2.ทำความสะอาดและทาน้ำมันทุกครั้งหลังการใช้งาน
2.3.เลื่อยตัดเหล็ก
โครงเลื่อยเหล็กมีรูปร่างลักษณะที่แตกต่างกัน แล้วแต่บริษัทผู้ผลิต แต่ช่วงที่ใส่ใบเลื่อยจะมีระยะห่างเท่ากัน มีรูและสลักสำหรับยึดให้ใบเลื่อยตึงและปรับระยะได้ตามขนาดความยาวของใบเลื่อย
เลื่อยตัดเหล็ก
การใช้เลื่อยตัดเหล็ก1.ใส่ใบเลื่อยเข้ากับโครงเลื่อย ขันยึดให้แน่นด้วยนอต
2.ปรับใบเลื่อยให้ตั้งพอสมควร อย่าตึงมากเกินไป เพราะใบเลื่อยจะหักได้
การบำรุงรักษา
1.หลังจากการใช้งานให้คลายใบเลื่อยออกเล็กน้อย เพื่อยืดอายุใบเลื่อยให้ใช้งานได้ยาวนานขึ้น
2.ใช้แปรงปัดทำความสะอาดทุกส่วน ทาด้วยน้ำมัน แล้วเก็บไว้ในที่เก็บหลังการใช้งาน
It should be a medium that they dabble in, experiment with, try on for size, and utilize as a creative outlet. http://rraqmscrch.dip.jp http://7msl9i4cks.dip.jp http://n01zoz7rhi.dip.jp
ตอบลบควรบำรุงรักษาให้มันดีดีด้วยนะครับ : )
ตอบลบ*****************************************************************
ดิติตอล มัลติมิเตอร์ , โคมไฟไร้สาย , เครื่องตรวจจับโลหะ
*****************************************************************
----> http://www.smtinter.com/
----> https://www.sgb.co.th/
----> https://www.shw.co.th/